พลังของความช่างสงสัย Power of Curiosity

พลังของความช่างสงสัย Power of Curiosity

หากให้ทุกคนลองนึกย้อนภาพตาม กลับไปสมัยที่เรายังเป็นเด็ก เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมตอนเด็ก ๆ เราถึงเรียนรู้ได้หลายเรื่องนัก?

จริงหรือ?

จริงครับ.. วัยเด็ก ตั้งแต่เราเกิดมา เราเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา เราเรียนรู้เรื่องการพูด การคุย การอ่าน เรารู้จักสิ่งของใหม่ ๆ มากมาย เรารู้จักอาหารหลากหลายรสชาต เรากินอาหารเผ็ด เรากินอะไรไม่รู้ที่ทำให้เราท้องเสีย เราได้รู้จักสัตว์มากมายหลายชนิด หลายคนมีโอกาสได้เลี้ยงสัตว์เหล่านั้น บางคนเลี้ยงสุนัข แต่หลายคนเลี้ยงหอยทาก รู้จักปลากัด

เอาเข้าจริง ๆ วัยเด็ก เป็นวัยที่น่าสนใจจริง ๆ เพราะเราทำทุกอย่างเพื่อให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เหตุผลที่เด็ก ๆ มักจะเอามือเข้าปาก เอาของเล่นเข้าปาก ก็เพราะเค้าอยากรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นรสชาตเป็นอย่างไร มันคืออะไร ขณะที่ผู้ใหญ่อย่างเราก็คอยเอามือออกมาจากปากพวกเขาโดยกำชับทุกครั้งว่า “อย่าเอามือเข้าปากสิ มันสกปรก”

ซึ่งเป็นเรื่องไม่ผิดเลย ที่ผู้ใหญ่ทำเช่นนั้น แต่สิ่งที่ผมพยายามบอกก็คือ วัยเด็ก เราได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ มากมาย จนทำให้ผมคิดต่อไปว่า “แล้วทำไมวัยผู้ใหญ่อย่างเราจึงเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ได้น้อยจัง”

สิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ ผมคิดว่ามีอยู่ 2 ปัจจัยหลัก

อย่างแรกคือ “ความสงสัย” ของเด็ก

เด็กไม่รู้ในหลาย ๆ เรื่อง และมีความสงสัยที่มากมาย และความสงสัยเหล่านั้นนำมาซึ่งคำตอบที่เขาได้เรียนรู้ ทั้งดีและร้าย เช่นการได้ลองอาหารอร่อยและอาหารเผ็ดปวดท้องในเวลาเดียวกัน หากลองมองดูดีดี จริง ๆ แล้วกระบวนการความคิดการทำงานของเด็กนั้นไม่ต่างอะไรกับนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในเรื่องรอบตัว ตั้งคำถามให้กับทุกสิ่งและค้นหาคำตอบตลอดเวลา

ขณะที่ปัจจัยที่สองที่ทำให้เด็กเรียนรู้มากกว่าผู้ใหญ่คือ “Ego” ของผู้ใหญ่เอง

ความที่คิดว่าตนรู้แล้ว ตนฉลาดแล้ว นี่ล่ะคือสิ่งที่เป็นกำแพงสูงใหญ่กั้นขวางไม่ให้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านเข้ามาถึงเราได้

ในวันงาน CTC2020 ผมได้มี keynote เปิดงานที่พูดถึงวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งทุกคนทำกันอยู่แล้วเช่นการอ่านหนังสือ การเข้าฟังบรรยาย การทำ workshop แต่หนึ่งในรูปแบบของการเรียนรู้ที่ส่วนตัวผมชอบมาก คือ “การพูดคุย”​ หรือ “Conversation” นั่นเอง

การพูดคุยเป็นการสื่อสารสองทาง ไม่ใช่ทางเดียวเหมือนการอ่านหรือฟัง การพูดคุยมักเกิดขึ้นจากความสงสัยในบางเรื่อง เกิดการตั้งคำถามที่มากมาย และคำถามเหล่านั้นจะนำมาซึ่งคำตอบอีกมากมายยิ่งกว่า คำตอบที่คุณไม่คาดคิดว่าจะได้พบ สุดท้ายคำตอบเหล่านั้นจะกลายเป็นสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ หรือเป็น “New Exploration” นั่นเอง

ผมเชื่อว่าการพูดเช่นนี้อาจจะยากต่อการจำของหลายคน จึงปรับคำออกมาให้เป็นขั้นตอนทั้ง 4 นั่นคือ Curiosity / Ask / Listen / Learn

คือ สงสัย / ถาม / ฟัง

generic viagra

/ และ เรียนรู้

หลายคนถามผมว่า แล้วถ้าอยากจะเรียนรู้สิ่งใหม่ในทุก ๆ วัน dianabol legal เราควรจะทำอย่างไร.. เช่นเดิมครับ เริ่มจากความสงสัย ตั้งคำถาม หาคำตอบ และเรียนรู้ .. เพียงแต่เราต้องทำเป็นประจำ ซ้ำ ๆ ทุกครั้งไป

ทุกอย่างเริ่มต้นจากความสงสัย

ความสงสัย เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ถ้าปราศจากความสงสัย เราก็จะไม่เป็นเราในทุกวันนี้ ความสงสัยทำให้เรามีแรงที่จะดำเนินชีวิตในทุก ๆ วัน ทำให้เราเป็นนักค้นคว้า เป็นนักวิทยาศาสตร์ ด้วยการตั้งคำถามและความใฝ่รู้

“Curiosity is such a powerful force. Without it, we wouldn’t be who we are today. Curiosity is the passion that drives us through our everyday lives.
We have become explorers and scientists with our need to ask questions and to wonder.” – Clara Ma –

ประโยคด้านบนเขียนโดย Clara Ma เด็กผู้หญิงซึ่งขณะนั้นอายุ 12ปี เรียนอยู่ชั้น ป.6 เธอบอกว่า เธอชอบเรื่องอวกาศ แต่มันยากที่เธอจะสามารถขึ้นไปอยู่บนนั้นไปสำรวจอวกาศได้ และนี่คือสิ่งที่เธอจะทำได้เพื่อให้เข้าใกล้อวกาศมากที่สุด นั่นคือการตั้งชื่อ ยานสำรวจดาวอังคาร

และยานลำนั้นเธอตั้งชื่อให้ว่า “Curiosity”

เพราะเธอเชื่อว่า ความสงสัยทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้ ความสงสัยทำให้เราอยากตื่นขึ้นมาทุกเช้าด้วยความตื่นเต้นว่าเราจะได้ค้นพบอะไรใหม่

CTC2020 Photo by Aiw Sarayut
Photo by Aiw Sarayut

และผมเองเชื่อว่า

Buy Real Steroids Online

ความสงสัยคือจุดกำเนิดของ การพูดคุย หรือ Conversation

Amminoacidi Essenziali Per Disfunzione Erettile

ที่จะพาคุณไปพบกับคำตอบที่คุณเองก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร

แต่ที่แน่ ๆ ผมเชื่อว่า ทุกความสงสัยจะนำมาซึ่งคำตอบที่อาจจะเปลี่ยนความคิดและชีวิตของคุณในอนาคต อย่างที่คุณนึกไม่ถึงมาก่อนก็เป็นได้

ออกไปสงสัย ตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ในทุก ๆ วัน กันเถอะครับ

Up Next:

Birds on the Wires

Birds on the Wires