โลโก้ Olympic 2016 Brazil ผลงานจากสองประเทศ ต่างทวีป


แม้ว่าช่วงหลังจะเขียนเรื่องโลโก้บ่อย แต่สำหรับโลโก้ระดับโลกอย่าง Olympic 2016 ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ต้องบอกว่า ไม่พูดถึงไม่ได้แล้ว

ผมเชื่อว่าถ้าหลายคนได้อ่านถึงความเป็นมาในการทำโลโก้จากสองบทความก่อนหน้านี้ (Startup Thailand และ Instagram) ก็จะรู้ว่าการทำโลโก้แต่ละตัวนั้นไม่ง่ายเลย แต่สำหรับโลโก้ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้คนมากกว่า 100ล้านคนได้ดู การทำงานต้องไม่ใช่แค่ได้ concept ดี ไอเดียเด่น แต่ต้องเนี๊ยบกริ๊บระดับที่คนทั้งโลกไม่สามารถจับผิดได้เลยทีเดียว

ทุกอย่างเริ่มต้นเมื่อคณะกรรมการการจัดโอลิมปิก 2016 ได้ประกาศให้เอเจนซี่ส่งโลโก้เข้าประกวด โดยผู้ส่งงานจำเป็นต้องส่งชิ้นงานที่ “ใกล้เคียงสมบูรณ์” แล้วเท่านั้น ซึ่งสำหรับ Frederico Gelli, creative director จาก Tátil Design บริษัทออกแบบในบราซิลได้บอกว่า “ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้” เพราะงานนี้มีคู่แข่งที่ส่งเข้าประกวดมากถึง 138 ราย

แต่เค้าก็ลองอยู่ดี.. บริษัท Tátil Design ใช้เวลาสองเดือนในการบอกทีมงานทุกคนให้ออกแบบโลโก้เพื่อประกวดกันเองก่อนในบริษัท โดยหัวใจคือ “การออกแบบไม่ใช่เพื่อดีไซน์เนอร์ แต่ออกแบบเพื่อทุกคนบนโลกนี้” และมันต้องนำเสนอพลังของความเป็นบราซิลและเมืองริโอฯ

ความยากด่านแรกของงานออกแบบคือ โลโก้ที่ได้เป็น final กันภายในต้องถูกเก็บเป็นความลับ ไม่ให้รั่วไหล มีการทำโลโก้ปลอมเพื่อหลอกคนนอก สร้างพื้นที่ให้เข้าออกได้เฉพาะ 10 คนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และห้ามแม้กระทั่งคนในบริษัทเอง โดยตรวจตราคนผ่านประตูด้วยการสแกนลายนิ้วมือ


Gelli บอกว่า แรงบันดาลใจของโลโก้นี้เกิดขึ้นเมื่อเค้าไปว่ายน้ำที่หาด Ipanema หลังจากที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำแล้วเห็นภูเขาสองพี่น้อง Dois Irmãos เค้าก็ได้ลายเส้นจากภูเขา ซึ่งตัวโลโก้นอกจากจะมีความหมายเกี่ยวกับการรวมตัวกัน และพลังในตัวมันเองแล้ว ด้วยลักษณะของรูปทรงทำให้บางคนอาจจะมองเห็นความหมายอื่น ๆ ได้อีกด้วย


สีสันที่ใช้แต่ละสีก็ล้วนมีความหมาย สีเขียวคือธรรมชาติ ป่า Tijica forest สีฟ้าคือมหาสมุทร ส่วนสีเหลืองแดงคืออากาศร้อน

แต่ความยากของงานยังไม่จบเท่านั้น เมื่องานได้ถูกคัดเลือกแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องทำคือการคิดรูปแบบตัวอักษร

เดิมที Gelli ต้องการใช้ตัวอักษรที่เรียบง่าย เพื่อไม่ให้โดดเด่นแย่งซีนของโลโก้เอง แต่ทางคณะกรรมการโอลิมปิกกลับบอกว่า ต้องการให้ตัวอักษรนั้นมีลักษณะคล้องจองไปในทิศทางเดียวกันกับโลโก้ ซึ่งนั่นทำให้ทีมของ Gelli จำเป็นต้องจ้างคนออกแบบตัวอักษรมืออาชีพมานั่งออกแบบตัวอักษรใหม่ถึง 150 แบบ .. บนกระดาษ


ผ่านไป 18เดือนของการทำงาน Dalton Maag

Steroids For Sale Online

บริษัทออกแบบตัวอักษรที่ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษก็ได้รับโทรศัพท์จาก Tátil Design เพื่อนัดให้ไปประชุมรับงาน

Maag บอกว่า ครั้งแรกที่ได้คุยกันนั้นเค้าไม่รู้เลยว่า งานที่จะได้ทำคือการออกแบบตัวอักษรให้กับโอลิมปิก ทุกอย่างถูกเก็บเป็นความลับ และหลังจากที่เค้ารู้ว่านี่คืองานอะไร บรี๊ฟเดียวที่เค้าได้ก็คือ “ออกแบบตัวอักษรให้เหมือนกับที่เราวาดมานี่!”


“ปกติแล้วเรามักจะออกแบบตัวอักษรก่อน แล้วค่อยเอาไปเข้ากับโลโก้ แต่งานนี้ทาง Tátil Design ดันออกแบบโลโก้พร้อมตัวอักษรวาดมือมาแล้วให้เราทำตาม มันเป็น Reverse creative process ซึ่งสิ่งที่เรามีก็คือตัวอักษรแค่สามตัว และ ตัวเลขอีกสี่ นั่นคือ R-I-O และ 2–0–1–6”

หากสังเกตดู ตัวอักษรที่ถูกออกแบบมานั้น มีการเชื่อมต่อกันอย่างสวยงามต่อเนื่อง ดูมี movement และนั่นคือความยากของทีมออกแบบตัวอักษร

ทีมงานของ Dalton Maag ต้องออกแบบตัวอักษรมากกว่า 500 ตัวกว่าจะได้ตัวที่เป็น final เพราะความยากในการต่อตัวอักษรให้เรียบเนียน ดูพริ้วไหวเหมือนต้นฉบับ


เมื่อออกแบบเสร็จหนึ่งชุด ทีมงานต้องทดลองพิมพ์ออกมาในกระดาษเพื่อดูการเชื่อมต่อและความสวยงาม ซึ่งในการออกแบบตัวอักษรทั้งหมด 23 ชุด ทางทีมได้ลองพิมพ์คำว่า “Passion” ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับคำว่า “RIO 2016” ที่เป็นตัวอย่าง แต่แล้ว 23 แบบก็ยังไม่จบ จนกระทั่งทางทีมได้ทำแบบที่ 24 ออกมา และเป็นแบบที่ final สุด

Viagra Cartine

ๆ เนื่องจากพอได้ลองพิมพ์คำว่า “Transformation” จะพบว่ามีจุดเชื่อมต่อสามจุดระหว่างตัว s-f-o ได้ดีเหมือนตัวเลข 1–6

เมื่อการเชื่อมต่อระหว่างตัวอักษรคือสิ่งที่สำคัญ วิธีการที่จะทำตัวอักษรให้คนทั้งโลกดูนั้น Dalton Maag จึงจำเป็นต้อง print ตัวอักษรออกมาดูอย่างละเอียดบนกระดาษแผ่นใหญ่ ซึ่งเมื่อพบจุดบอดหรือการเชื่อมต่อที่ไม่ดีพอ พวกเค้าก็ต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขใหม่


งานนี้ไม่ใช่งานง่าย โลโก้เดียวออกแบบถึงสองบริษัทที่อยู่ต่างทวีป และต้องใช้ความละเอียดในการทำงานเป็นอย่างสูง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดโลโก้สำหรับปี 2016 นี้ครับ

ต้นฉบับ http://99u.com/articles/53580/how-the-2016-olympic-logo-and-font-were-created

แปล/เขียนโดย เก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม (facebook: GengSittipong
– CEO บริษัท RGB72 จำกัด, Speaker และ Mentor StartUps
– Host และผู้จัดงาน Creative Talk
– เจ้าของหนังสือ
“Read Everyday Repeat Every Month” (OOKBEE)

Up Next:

5 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทกับพนักงาน

5 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทกับพนักงาน